
“ลีดเดอร์ชิพโพล” ชี้ประชาชนหนุนฝ่ายค้าย อภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล “แพทองธาร” พบคนเป็นห่วงเรื่องปากท้อง มาก่อนเรื่องทุจริต
22 กุมภาพันธ์ 2568 ผศ.ดร.สุริยะใส กตะศิลา คณบดีวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต พร้อมด้วย รศ.ร.ต.อ.ดร.จอมเดช ตรีเมฆ รองคณบดีฝ่ายวิชาการ และ ผศ.ว่าที่ ร.ต.จตุพล ดวงจิตร อาจารย์วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต แถลงข่าวเปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็น“ลีดเดอร์ชิพโพล”ครั้งที่ 1 ประจำปี 2568 ในหัวข้อ “ความคาดหวังประชาชนทั่วไปที่จะให้ฝ่ายค้านซักฟอกรัฐบาลนางสาวแพรทองธาร ชินวัตร” เพื่อมุ่งสะท้อนผลการสำรวจต่อสังคม ข้อมูลจากการสำรวจจะนำไปสู่ การอธิบายปรากฎการณ์ทางการเมืองไทย เพื่อเป็นการสร้างการรับรู้ทางการเมืองให้กับสังคม กลุ่มประชากรตัวอย่างจำนวน 1,200 คน ทำการสำรวจผ่านช่องทางออนไลน์ ระหว่างวันที่ 15-20 กุมภาพันธ์ 2568 มีผลสำรวจ
ส่วนหัวข้อที่ 2 คือ ประชาชนคิดว่าหากมีการอภิปรายไม่ไว้วางใจฝ่ายค้านควรมุ่งเน้นไปที่ประเด็นใดเป็นสำคัญอันดับที่ 1 ปัญหาเงินเฟ้อและค่าครองชีพสูง รายได้ของประชาชนไม่เพิ่ม 53.08% อันดับที่ 2 การทุจริตคอร์รัปชันโครงการของรัฐบาลที่อาจมีความไม่โปร่งใส หรือเอื้อ ประโยชน์ต่อพวกพ้อง รวมถึงความไม่โปร่งใสเกี่ยวกับปมปัญหา ชั้น 14 ร้อยละ 44.17 และอันดับที่ 3 การจัดการสิ่งแวดล้อมและปัญหาภัยพิบัติ อาทิ ปัญหาฝุ่น PM2.5 น้ำท่วม ภัยแล้ง และนโยบายพลังงานสะอาด ไม่มีประสิทธิภาพ 43.25%
ขณะที่หัวข้อที่ 3 หลังการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลครั้งนี้ประชาชนคาดหวัง อันดับ 1 ให้รัฐบาลบริหารงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น 31% อันดับ 2 ไม่คาดหวังอะไรเพราะคิดว่ายังไงก็เหมือนเดิม 30.92% และ อันดับ 3 ให้รัฐบาลยุบสภา 24.75%
ซึ่งจากผลสำรวจ สรุปได้ว่าประชาชนสนับสนุนให้มีการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลของ นางสาวแพทองธาร ชินวัตร อันดับ 1 ปัญหาเงินเฟ้อและค่าครองชีพสูงรายได้ของประชาชนไม่เพิ่ม อันดับ 2 การทุจริตคอร์รัปชันโครงการของรัฐาลที่อาจมีความไม่โปร่งใสหรือเอื้อประโยชน์ต่อพวกพ้อง(กรณีชั้น14) และ อันดับ 3 การจัดการสิ่งแวดล้อมและปัญหาภัยพิบัติ อาทิ ปัญหาฝุ่น PM2.5 น้าท่วม ภัยแล้ง และนโยบายพลังงานสะอาด ไม่มีประสิทธิภาพ
ผศ.ว่าที่ ร.ต.จตุพล ดวงจิตร อาจารย์วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต เปิดเผยว่า จากผลโพลเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ประชาชนสนใจในเรื่องปัญหาปากท้อง แตกต่างกับในอดีตที่อาจจะมุ่งไปที่เรื่องของการทุจริตคอร์รัปชัน สะท้อนให้เห็นความคาดหวังของประชาชน ที่อยากให้มีการเปลี่ยนแปลงเรื่องการบริหารจัดการของรัฐบาล รวมถึงการปรับคณะรัฐมนตรี แต่ไม่ถึงขั้นยุบสภา เป็นเพียงการปรับเปลี่ยนคณะรัฐมนตรี โดยอีกมุมหนึ่งประชาชน ก็อยากฝากให้ฝ่ายค้านทำงานเข้มข้นมากขึ้น และให้ฝ่ายค้านเสนอทิศทางการบริหารจัดการของรัฐบาลในเชิงบวก แล้วทำการตรวจสอบเพื่อเป็นการถ่วงดุลอำนาจ